กระ
จะมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ไม่นูน พบมากบริเวณที่โดนแดดบ่อยๆ เช่น โหนกแก้ม สันจมูก มักจะเป็นทั้ง 2 ด้านของใบหน้า พบได้ตั้งแต่เด็กและวัยรุ่น
การรักษา
กระชนิดนี้อยู่บริเวณหนังกำพร้า การรักษาจะทำโดยเครื่อง Q-Switched Nd:YAG Laser โดยจะมีการตกสะเก็ดบริเวณที่ทำเลเซอร์ ลักษณะเป็นจุดสีดำๆ อาจจะมีอาการแสบแดงรอบๆบริเวณที่ทำเลเซอร์ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน สะเก็ดจึงจะหลุดหมด รักษาติดต่อกัน 3-4 ครั้ง ก็มักจะหายหมด
- ระหว่างการรักษาควรทายาลดการสร้างเม็ดสีเพื่อลดโอกาส เกิดรอยดำจากการทำเลเซอร์ตลอดการรักษา
- รวมทั้งทาครีมกันแดดที่ป้องกันรังสี UVA,UVB และหลีกเลี่ยงการโดนแดด
จะมีลักษณะปื้นราบๆสีน้ำตาล ขอบเขตชัดเจน ไม่นูน มักพบในคนอายุมาก ที่มีผิวค่อนข้างขาว
การรักษา
กระชนิดนี้อยู่บริเวณหนังกำพร้า การรักษาจะทำโดยเครื่อง Q-Switched Nd:YAG Laser โดยจะมีการตกสะเก็ดบริเวณที่ทำเลเซอร์ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน สะเก็ดจึงจะหลุดหมด รักษาติดต่อกัน 3-4 ครั้ง ก็มักจะหายหมด ระหว่างการรักษาควรทายาลดการสร้างเม็ดสีเพื่อลดโอกาส เกิดรอยดำจากการทำเลเซอร์ตลอดการรักษา
รวมทั้งทาครีมกันแดดที่ป้องกันรังสี UVA,UVB และหลีกเลี่ยงการโดนแดด
มีลักษณะเป็นกลุ่มของจุดสีน้ำตาลปนเทา เป็นเงาลึกๆขอบเขตไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่อยู่บริเวณโหนกแก้ม มักเป็นทั้งสองข้าง บนในคนเอเชียที่มีผิวขาว กระชนิดนี้อยู่ในชั้นหนังแท้
การรักษา
เนื่องจากกระลึกอยู่ในชั้นหนังแท้ จึงไม่ตอบสนองต่อการทายา การรักษาหลักจะเป็นการทำเลเซอร์ด้วยเครื่อง Q-Switched Nd:YAG Laser แบบตกสะเก็ด จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง 8-10 ครั้งขึ้นไป และทายาลดการสร้างเม็ดสีเพื่อลดโอกาสเกิดรอยดำจากการทำเลเซอร์ตลอดการรักษา
รวมทั้งทาครีมกันแดดที่ป้องกันรังสี UVA,UVB และหลีกเลี่ยงการโดนแดด
ลักษณะเป็นจุดแปะบนผิวหนัง อาจจะมีขนาดเป็นจุดเล็กๆหรือใหญ่เป็นเซนติเมตรก็ได้ มีสีน้ำตาลอ่อน หรือเข้มจนเป็นสีดำ ผิวขรุขระเล็กน้อย พบบ่อยบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง ซึ่งจะค่อยๆขยายขนาดอย่างช้าๆ สีเข้ม และผิวขรุขระมากขึ้น มักพบในคนอายุมาก
การรักษา
หากมีขนาดเล็ก สามารถรักษาได้ด้วยเครื่อง Ultrapulse Carbondioxide Laser
หรือ จี้ด้วยจี้ไฟฟ้า หากมีขนาดใหญ่มาก หรือ ต้องการส่งชิ้นเนื้อเพื่อตรวจต่อ ควรจะรักษาด้วยการผ่าตัดออก